ต้นไม้ยืนต้น

พรรณไม้ ยืนต้น v2 ไม้ใหญ่หรือไม้ยืนต้น ไม้ประเภทนี้มีลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีลำต้นหลัก ตั้งตรง ต้นเดียวแล้วจึงแตกกิ่งก้านบริเวณยอด โตเต็มที่สูงเกิน 5 เมตร มีอายุยืนยาวหลายปี เช่น สน เต็ง รัง แดง สัก ประดู่ นนทรี จามจุรี มะขาม ไม้ยืนต้น คือต้นไม้ที่มีลำต้นเดี่ยว ทอดสูง มีกิ่งก้านใบอยู่ตอนบนหรืออยู่ตั้งแต่กลางลำต้นขึ้นไป มีคุณสมบัติเด่นในการให้ร่มเงาและความร่มรื่น ทั้งนี้การแบ่งประเภทของไม้ยืนต้นขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้นั้น ๆ หรือแบ่งตามความสูงได้ 3 ขนาด คือ สูง กลาง และต่ำ ต้นไม้นั้นมีความสูงตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ขนาดกลางมีตวามสูง 10 เมตรลงมา และขนาดต่ำคือ 5 เมตรลงมา นอกจากนี้ไม้ยืนต้นยังมีลักษณะการขึ้นลำต้นเป็นลำเดียวและเป็นกอ (หลายลำ) ได้ด้วย

พันธุ์ไม้ ที่รวมกันเป็นหมู่ๆ

[ขยายดูภาพใหญ่ ]

พันธุ์ไม้บางชนิดมักจะเกิดรวมกันเป็นหมู่ ๆ ทำให้เกิดสภาพป่าเฉพาะอย่างขึ้น เช่น

  • ไม้สนเขา  คือ ไม้สนสองใบและสนสามใบ ขึ้นปะปนรวมกันเป็นหมู่ใหญ่หรือหมู่เล็กแล้วแต่ชนิดของดินและหิน ป่าสนเข ามักพบตามเทือกเขาระดับสูงในภาคพายัพ  (เหนือ)  และที่ราบสูงทางภาคอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) และบางที่ก็มีไม้เหียง และไม้พ ลวงขึ้นปะปนอยู่ด้วยเ หมือนกัน
  • ไม้เหียง พลวง กราด เต็ง และรัง   ทั้งห้าชนิดนี้มักขึ้นรวมกันเป็นหมู่ในป่าเต็งรังที่ทางภาคพายัพเรียก ป่าเพาะ ทางอีสานเรียก ป่าโคก
  • ไม้เสม็ด มักจะเกิดในที่ที่เป็นดินทราย ในที่ราบลุ่มน้ำขัง และน้ำทะเลขึ้นถึง  ไม้เสม็ดจะขึ้นรวมกันอยู่อย่างหนา แน่น เนื่องจากรากต้องอยู่ในดินและจมน้ำตลอดเวลา   ต้นเสม็ดจึงมีเปลือกล่อนออกได้เป็นกาบบางๆซ้อนกันอยู่หลาย ๆ ชั้นเป็นการช่วยระบายอากาศที่ รากไปด้วย
  • ไม้โกงกาง มีทั้งชนิดใบเล็ก และใบใหญ่ขึ้นรวมกันเป็นหมู่ในป่าชายเลน  ไม้โกงกางใบใหญ่มักขึ้นตามชายป่าริมน้ำ เนื่องจากรากต้องอยู่ในดินใต้น้ำตลอดเวลา ต้นโกงกางจึงจำเป็นต้องมีรากค้ำช่วยพยุงลำต้นให้ทรงตัวอยู่ได้ในกระแสลมม รสุม  และรากค้ำนี้ยังช่วยระบาย ถ่ายเทอากาศให้รากใต้ดินอีกประการหนึ่งด้วย ในป่าชายเลนนอกจากจะมีไม้โกงกางดังกล่าวแล้ว ยังมีต้นไม้ชนิดอื่นขึ้นอย ู่ เช่น ลำพู แสมทะเล พังกาหัวสุม ถั่วดำ ถั่วขาว ตะบูน ตะบัน ลำแพน และอื่น ๆ แต่ละชนิดต่างมีรากที่มีรูปร่างต่าง ๆ โผล่ขึ้นเหนือผิวดินแตก ต่างกันไป  เพื่อช่วยถ่ายเทอากาศที่ราก
  1. ไม้ตะแบก จะขึ้นในที่ดินตื้นมีหินปูนเป็นพื้น ที่เป็นป่าตะแบกล้วน ๆ ได้แก่ ป่าที่ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครรา ชสีมา

ไม้หวงห้าม

[ขยายดูภาพใหญ่ ]

เนื่องจากพันธุ์ไม้ป่าต่าง  ๆ นั้นมีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก คนเราได้นำเนื้อไม้มาใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน แล ะเครื่องใช้ต่าง ๆ  นอกจากนั้นยังมีไม้บางชนิดให้ประโยชน์อย่างอื่นที่สูงกว่าเนื้อไม้ เช่น น้ำมัน ชัน หรือให้ผลที่เป็นสมุนไพรใช้แก้โรคต ิดต่อร้ายแรงบางโรคได้  ดังนั้นทางการจึงต้องป้องกันมิให้สูญพันธุ์โดยกำหนดไม้บางชนิดให้เป็นไม้หวงห้ามไม้หวงห้ามที่ทางการกำหนดไว้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ไม้หวงห้ามประเภท ก. เป็นพันธุ์ไม้ที่ให้เนื้อไม้มีคุณภาพดี ซึ่งใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้นั้น      ทางการจะยอมให้ตัดฟันและชักลากออกมาทำสินค้าได้  ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน   ได้กำหนดให้อยู่ในประเ ภทนี้ มีจำนวนกว ่า 250 ชนิด พร้อมทั้งกำหนดอัตราค่าหลวงไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น
    • ไม้มะค่าโมง  (Afzelia xylocarpa) เป็นไม้ผลัดใบ สูง ๑๕-๒๐ เมตร เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง ดอกสีเขียวๆ ผลเป็นฝักแบนหนาแห้งแข็ง ชอบขึ้นในป ่าเบญจพรรณ
    • ประดู่ (Tterocarpus macrocarpus) เป็นไม้ผลัดใบ สูง ๒๐-๒๕ เมตร เนื้อไม้สีแดงคล้ำ ดอกสีเหลืองหอม ผลเป็นฝักแบนกลมมีครีบโดยรอบ  ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณ
    • อินทนิล (Lagerstroemia speciosa) เป็นไม้ผลัดใบ สูง ๑๕-๒๐ เมตร เปลือกสีน้ำตาลเป็นสะเก็ดล่อนออกบางๆ เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน ดอกสีม่วงเข้ม ผลขนาด ใหญ่ ผิวแข็ง แก่จัดแยกออกเป็นเสี่ยงๆ ชอบขึ้นในป่าดิบแล้ง ริมลำธาร
    • อื่นๆ เช่น ตะแบกเปลือกหนา  ตะแบกเปลือกบาง เสลา ตะเคียน สนทะเล เต็งหรือแงะ รังหรือเปา ยางกราด ยางพลวง เป็นต้น
  2. ไม้หวงห้ามประเภท  ข. ได้แก่พันธุ์ไม้บางชนิดที่ทางการได้พิจารณาเห็นว่าเป็นไม้ชนิดดีมีค่าหายาก   หรือ  มีคุณค่าพิเศ ษอย่างอื่น  เช่น เปลือกหรือเนื้อไม้มีกลิ่นหอม เป็นสมุนไพรที่หายาก หรือเนื้อไม้มีน้ำมัน หรือชัน  ซึ่งใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรมที่จ ะหาของอื่นมใช้แทนไม่ได้ หรือ มีผลที่เป็นสมุนไพร  ใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ทางการจะห้ามมิให้ตัดฟันโค่นล้ม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ

พันธุ์ไม้ที่ใช้ยางนำมากลั่นเป็นน้ำมันและชันก็คือสนเขา  เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ อยู่ในสกุลไพนัส (Pinus) ต้นสูง 25-30 เมตร ใบรูปเข็มมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

  1. สนสองใบ (Pinus merkusii)
  2. สนสามใบ (Pinus khasya)

ที่มีบริมาณน้อยและหายากได้แก่

  • พญาไม้ ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ อยู่ในสกุลพอโดคาร์ปัส (Podocarpus) ขึ้นตามป่าดิบเขา มีอยู่ 3 ชนิด คือ
    1. พญามะขามป้อมดง (Podocarpus imbricatus) ใบเล็กละเอียด บางทีเป็นเกล็ดแหลม
    2. ขุนไม้  (Podocarpus wallichii) ใบกว้างสอบเรียวทางปลายและโคน
    3. พญาไม้หรือซางจิง (Podocarpus neriifolia) ใบแคบขอบขนาน
  • แปกลม (Colocedrus macrolepis) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง 20-25  เมตร  ใบเล็กอยู่ชิดติดกันเป็นแผงคล้ายใบสนแผง  ด้านล่างสีขาว ขึ้นตามป่า ดิบเขา
  • มะขามป้อมดง (Cephalotaxus griffithii) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง 20-25 เมตร ใบเล็กเรียวปลายแหลมเรียงกันอยู่สองข้าง ด้านล่างสีขาว ขึ้นตามป่าดิบ
  • สามพันปี (Dacrydium elatum) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง 20-25 เมตร ใบเรียวเล็ก ปลายใบแหลมเป็นเกล็ดเล็ก ๆ ขึ้นตามป่าดิบเขา ริมลำธาร
  • อื่นๆเช่น  กฤษณาหรือกระลำพัก    หอม  หรือ สบ หรือ กะตุก  กระเบาใหญ่  มะพอก หรือทะลอก หรือ มะมื่อ  รักใหญ่

นอกจากไม้หวงห้ามทั้งสองประเภทที่ยกตัวอย่างมาพอเป็นสังเขปนั้น  ยังมีไม้อยู่อีก 2 ชนิดที่กำหนดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ให้เป็นไม้ดวงห้ามชนิดพิเศษ คือ ไม้สัก และไม้ยางทุกชนิด ไม้ทั้งสองชนิดนี้ ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดก็ตาม ให้ถือว่าเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น   กา รตัดฟันใช้สอยจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่ได้มอบหมายให้เป็นอำนาจขอ งอธิบดีกรมป่าไม้ หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด

  • ไม้สัก  (tectona  grandis) ไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 20-30 เมตร ดอกสีขาว  ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง  ผลกลมมีขนนุ่มปกคลุม  และมีเปลือกบาง  ๆ หุ้มโดยรอบภายนอกอีกชั้นหนึ่ง เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ
  • ไม้ยาง  (Dipterocarpus spp.) ไม้ยืนต้น ไม้ผลัดใบ สูง 30-40  เมตร  ดอกสีชมพูผลกลมหลายแหลม มีปีก 2 ปีกใหญ่ และปีกรูปหูหนู 3 ปีก   เนื้อไม้สีน้ำตาล   ขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น  ไม้ยางมีอยู่ด้วยกันมากชนิด ชนิดที่พบทั่ว ๆ ไป คือ
    ยางนา      (Dipterocarpus alatus)
    ยางพาย     (Dipterocarpus costatus)
    ยางแดง     (Dipterocarpus turbinatus)
    ยางมันหมู    (Dipterocarpus kerrii)
    ยางเสียน    (Dipterocarpus gracilis)